วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

ความรู้ โรคมะเร็งปอด

โรคมะเร็งปอด
     
มะเร็งปอด มักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงและพบมากเป็นอันดับที่ 2 รองจากมะเร็งตับ แต่ในภาคเหนือพบมากเป็นอันดับ 1 ทั้งเพศชายและเพศหญิง การเกิดโรคมะเร็งปอด มีหลายสาเหตุที่พบบ่อยคือ

    1. การสูบบุหรี่  การสูบบุหร่หือการได้รับควันบุหรี่จากผู้อื่น (บุหรี่มือสอง) เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดในบุหรี่ 1 มวน จะสรซึ่งเป็นส่วนประกอบประมาณ 4,000 ชนิด และในจำนวนนี้จะมีปริมาณ 60 ชนิดที่เป็นสารพิษหรือสารก่อมะเร็ง ดังนั้นผู้ที่สูบบุหรี่จะมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดสูง กล่าวคือ 80% ของผู้ที่เป็นมะเร็งปอดจะมีประวัติการสูบบุหรี่และ 75%ของผู้เป็นมะเร็งปอดจะเป็นผู้ที่สูบบุหรี่จัด ซึ่งเกณฑ์ที่ถือว่า "สูบบุหรี่จัด" ได้แก่ การสูบบุหรี่อย่างน้อยวันละ 20 ติดต่อกันนาน 20 ปี ขึ้นไป หรืออย่างน้อยวันละ 10 มวน สูบหันนาน 30 ปีขึ้นไป

     2. ความสกปรกของกากาศในเมืองใหญ่  อากาศที่เป็นพิษ ซึ่งเกิจากควันดำของท่อไอเสียรถยนต์ ควันพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ

     3. ก๊าสเรดอน (Radon)  ก๊าซเรดอน เป็นก๊าซที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่มีรส เ็ป็นก๊าซธรรมชิตที่พบในดินและก้อนหิน (Rock) ก๊าซชนิดนี้สามารถทำอันตรายต่อปอดและทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดได้ ผู้ที่ทำงานในเหมืองอาจได้รับอันตรายจากก๊าซนี้ได้

     4. เยื่อหิน (Asbestos)  เยื่อหิน พบได้ในเหมืองหรือโรงงานที่ผลิตหรือใช้สารนี้ เช่น โรงงานผลิตผ้าเบรกครัทช์ ฉนวนกันความร้อน และโรงงานทอผ้า ละอองของสารเยื่อหินสามารถล่องลอย ในอากาศ  เมื่อสูดดมเข้าไปสารจะไปตกค้างในปอด ทำอันตรายต่อเซลล์ปอด ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดตามมา ผู้ที่สูดดมสารนี้จำนวนมากมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งปอดได้มากกว่าคนปกติถึง 3-4 เท่า

     5. ควันธูป จากการศึกษา ในควันธูปมีส่วนประกอบของสารเคมีที่ทำให้เกิดมะเร็งปอด ที่สำคัญ 3 ชนิดได้แก่ เบนซิน บิทาไดอีนและเบนโซเอไพริน




เลิกบุหรี่ห่างไกลมะเร็งปอด



อาการที่ควรสงสัยว่าอาจจะเป็นมะเร็งปอด
     ระยะเริ่มแรกของโรค จะไม่มีอาการใด ๆ ที่บ่งบอกได้อย่างชัดเจนว่าเป็นโรคมะเร็งปอด แต่ควรสังเกตจากอาการเหล่านี้ เช่น

  • ไอเรื้อรัง  จะมีลักษณะไอแห้ง ๆ อยู่นานกว่าปกติบางครั้งมีเสมหะ หรือมีเลือดออกเป็นเพียงสาย ๆ ติดปนกับเสมหะออกมา
  • หายใจเหนื่อยหอบ เสียงแหบ
  • เป็นโรคปอดบวมหรือหลอดลมอักเสบบ่อย ๆ มีไข้เจ็บหน้าอก
  • อาการบวมบริเวณใบหน้าและลำคอ
  • เบื่ออาหารหรือน้ำหนักลด ซีด อ่อนเพลีย
อาการเหล่านี้อาจเป็นอาการของโรคมะเร็งปอดได้ถ้ามีอาการควรปรึกษาแพทย์


การวินิจฉัยมะเร็งปอด 
     สามารถวินิจฉัยได้หลายวิธีดังนี้
          1. เอกซเรย์ปอด หรือ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์
          2. ตรวจเสมหะ ที่ไอออกมาเพื่อหาเซลล์มะเร็ง
          3. ส่องกล้องตรวจดูภายในหลอดลม
          4. ขลิบชิ้นเนื้อจากหลอดลมหรือต่อมน้ำเหลืองบริเวณไหปลาร้า ไปตรวจเพื่อการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยา


การรักษาโรคมะเร็งปอด
     เมื่อพบว่าเป็นโรคมะเร็งปอดแน่นอนแล้ว แพทย์จะให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยว่า ควรจะมีการรักษาแบบใดบ้าง จึงจะเหมาะสมแก่ผู้ป่วย โดยพิจรณาถึงอายุ ภาวะความแข็งแรงของร่างกายระยะของโรคชนิดของชิ้นเนื้อและการยอมรับของผู้ป่วย ซึ่งสามารถรักษาได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
     1. การผ่าตัด
     2. รังษีรักษา
     3. เคมีบำบัด
     4. การรักษาร่วมกันมากกว่า 1 วิธี เช่น เคมีบำบัดร่วมกับการฉายแสง  การให้เคมีบำบัดก่อนหรือหลังการผ่าตัด การฉายแสงร่วมกับการผ่าตัด เป็นต้น
     5. การรักษาแบบประคับประคอง


การป้องกันมะเร็งปอด
     1. เลิกสูบบุหรี่ หรือหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้คนสูบบุหรี่
     2. หลีกเลี่ยงการได้รับมลพิษในสิ่งแวดล้อม
     3. รับประทานผัก ผลไม้ให้มากขึ้น รวมทั้งอาหารที่มีวิตามินซี วิตามินอี รวมทั้งเซเลเนียม เช่น ข้าวซ้อมมีือ รำข้าว ฯลฯ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอด
     4.หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง และการดื่มสุรา