วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

ความรู้ โรคมะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม


มะเร็งเต้านม  เป็นมะเร็งที่พบบ่อยในหญิงไทย เป็นอันดับ 1 รองลงมาคือมะเร็งปากมดลูก มักจะเกิดในหญิงอายุ 10 ปีขึ้นไป  และพบมากในหญิงที่ไม่มีบุตร หรือมีบุตรน้อย  และในผู้ที่มีประวัติญาติพี่น้องเคยเป็นมะเร็งเต้านม


สาเหตุของมะเร็งเต้านม
     สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบ แต่จากการศึกษาพบว่าฮอร์โมนเพศหญิงและพันธุกรรมอาจมีส่วนเกี่ยวข้อง

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม
     ร้อยละ 70 ของมะเร็งเต้านมไม่มีปัขขัยเสี่ยงแต่พบว่ามีปัจจัยบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งเต้านมได้แก่

1. ฮอร์โมนเพศหญิง

  • หญิงที่มีประจำเดือนตั้งแต่ก่อนอายุ 12 ปี หรือประจำเดือนหมดช้าหลังอายุ 55 ปี จะมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้สูงกว่าคนปกติ 
  • หญิงที่มีบุตรหลังอายุ 30 ปี รวมถึงหญิงที่ไม่เคยมีบุตร จะมีความเสี่ยงต่อการเป็ฯมะเร็งเต้านมมากขึ้น 
2. พันธุกรรม
  • ร้อยละ 5-10 ที่มีประวัติเป็นมะเร็งในครอบครัว
  • หญิงที่มีแม่ / น้องสาม / พี่สาวเป็นมะเร็งเต้านมมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น 1.5-3 เท่า
  • ผู้ที่มีสารพันธุกรรมผิดปกติ (ยินส์ BRCA1, BRCA2) จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งสูง
3. โรคบางชนิด  เช่น การแบ่งตัวที่ผิดปกติของท่อน้ำตม  จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม
4. อาหารไขมันสูง  พบว่าการรับประทานอาหารไขมันสูง เช่น อาหารทอด อาจเพิ่มอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งเต้านม
5. รังสี  หญิงที่ได้รับการฉายรังสี รักษาบริเวณทรวงอกมาก่อน มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมมากกว่าคนปกติ


อาการของมะเร็งเต้านมมีดังนี้
     1.เริ่มด้วยการมีก้อนเล็ก ๆ ขึ้นที่เต้านมก่อนส่วนมากจะไม่มีอาการเจ็บปวด
     2. ก้อนจะโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เต้านมมีลักษณะผิดไป อาจทำให้เต้านมใหญ่ขึ้น หรือบางชนิดทำให้เต้านมแข็ง  หดตัว  หรือแบนลงได้
     3. ก้อนของมะเร็งอาจจะรั้งให้หัวนมบุ๋มเข้าไปจากระดับเดิม หรือทำให้ผิดหนังบริเวณเต้านมมองดูมีลักษณะหยาบและขรุขระในบางรายเมื่อบีบบริเวณหัวนมจะพบมีน้ำเหลืองหรือเลือดไหลซึมออกมา
     4. ก้อนของมะเร็งจะลุกลามแพร่กระจายตัวจากตำแหน่งที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วไปตามหลอดเลือดและน้ำเหลืองสู่อวัยวะอื่น ๆ บริเวณที่พบการแพร่กระจายได้เร็วและบ่อยที่สุด ได้แก่ ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้จะพบว่าโตขึ้นเรื่อย ๆ 
     5. ในระยะหลัง  เนื้อมะเร็งบางส่วนจะเน่าตายทำให้เกิดเป็นแผลขยายกว้างออกไป  และมีกลิ่นเหม็นจัด


การวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านม
     1. การตรวจเต้านมด้วยตนเองเดือนละครั้งเป็นประจำ โดยตรวจ หลังหมดประจำเดือนแล้ว 7 วัน จะช่วนให้พบก้อนมะเร็งได้ตั้งแต่เริ่มแรก ซึ่งยังมีขนาดเล็กมาก
     2. ก้อนที่พบบริเวณเต้านมนั้น อาจเป็นเพียงเนื้องอกอย่างธรรมดา ไม่ใช่มะเร็งเสมอไป แต่ก้อจำเป็นต้องรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยให้แน่นอน
     3. ในการตรวจวินิจฉัย แพทย์อาจทำการตรวจเต้านม ด้วยเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ เครื่องเอกซเรย์เต้านมหรืออัลตร้าซาวด์ และจะต้องตัดเนื้อหรือใช้เข็มดูดเซลล์ที่ก้อนเนื้อไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ เพื่อให้ทรายแน่ชัดว่าเป็นมะเร็งหรือไม่  และพิจารณาให้การรักษาต่อไป


เมื่อพบสิ่งผิดปกติใด ๆ ของเต้าตม ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยเร็ว 
การรักษามะเร็งเต้านม
     การรักษาอาจทำได้หลายวิธี  อาจใช้วิธีไดวิธีหนึ่งหรือรักษาร่วมกันหลายวิธี  ขึ้นกับระยะของโรค คือ 
     1. การผ่าตัด มี 2 วิธีสำคัญคือ
          1.1 ผ่าตัดแบบสงวนเต้าไว้และเลาะต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ออก
          1.2 ผ่าตัดแบบตัดเต้านมออกทั้งหมดและเลาะต่อน้ำเหลืองที่รักแร้ออก
     2. รังสีรักษา กรณีผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดแบบสงวนเต้าจะต้องได้รับการฉายรังสีทุกราย ส่วนผ่าตัดแบบตัดเต้านมออกทั้งหมด และเลาะต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ออก  แพทย์อาจพิจารณาให้ฉายรังสี ในกรณีก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่มากกว่า 5 เซนติเมตรและมีการแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้
     3. เคมีบำบัด และยาฮอร์โมน  โดยทั่วไปหากก้อนมะเร็งมีขนาดโตกว่า 1 เซนติเมตร และมะเร็งแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลือง


การป้องกัน
     1. พึงระลึกเสมอว่า มะเร็งเต้านมหรืออวัยวะใดก็ตาม ถ้าได้รับการรักษาในระยะเริ่มต้นเร็วเท่าใหร่ความหวังที่จะหายขาดก็ยิ่งมากขึ้นเพียงนั้น
     2. ควรทำการตรวจเต้านมด้วยตนเองเดือนละ 1 ครั้งเป็นประจำ  หรือรับการเอ็กซเรย์เต้านม  เพื่อจะได้พบก้อนหรือสิ่งผิดปกติของเต้านมตั้งแต่ระยะเริ่มแรก
     3. เมื่อพบสิ่งผิดปกติใด ๆ ของเต้าตม ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยเร็ว อย่าลังเลใจ ผัดผ่อนเวลาเพราะจะทำให้สายเกินไปที่จะรักษาโรคให้หายขาดได้ มะเร็งเต้านมเป็นโรคร้ายที่รักษาให้หายได้ถ้ามาพบแพทย์ในระยะแรกเริ่มและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์แย่างเคร่งครัด



วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

ความรู้ โรคมะเร็งปอด

โรคมะเร็งปอด
     
มะเร็งปอด มักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงและพบมากเป็นอันดับที่ 2 รองจากมะเร็งตับ แต่ในภาคเหนือพบมากเป็นอันดับ 1 ทั้งเพศชายและเพศหญิง การเกิดโรคมะเร็งปอด มีหลายสาเหตุที่พบบ่อยคือ

    1. การสูบบุหรี่  การสูบบุหร่หือการได้รับควันบุหรี่จากผู้อื่น (บุหรี่มือสอง) เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดในบุหรี่ 1 มวน จะสรซึ่งเป็นส่วนประกอบประมาณ 4,000 ชนิด และในจำนวนนี้จะมีปริมาณ 60 ชนิดที่เป็นสารพิษหรือสารก่อมะเร็ง ดังนั้นผู้ที่สูบบุหรี่จะมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดสูง กล่าวคือ 80% ของผู้ที่เป็นมะเร็งปอดจะมีประวัติการสูบบุหรี่และ 75%ของผู้เป็นมะเร็งปอดจะเป็นผู้ที่สูบบุหรี่จัด ซึ่งเกณฑ์ที่ถือว่า "สูบบุหรี่จัด" ได้แก่ การสูบบุหรี่อย่างน้อยวันละ 20 ติดต่อกันนาน 20 ปี ขึ้นไป หรืออย่างน้อยวันละ 10 มวน สูบหันนาน 30 ปีขึ้นไป

     2. ความสกปรกของกากาศในเมืองใหญ่  อากาศที่เป็นพิษ ซึ่งเกิจากควันดำของท่อไอเสียรถยนต์ ควันพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ

     3. ก๊าสเรดอน (Radon)  ก๊าซเรดอน เป็นก๊าซที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่มีรส เ็ป็นก๊าซธรรมชิตที่พบในดินและก้อนหิน (Rock) ก๊าซชนิดนี้สามารถทำอันตรายต่อปอดและทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดได้ ผู้ที่ทำงานในเหมืองอาจได้รับอันตรายจากก๊าซนี้ได้

     4. เยื่อหิน (Asbestos)  เยื่อหิน พบได้ในเหมืองหรือโรงงานที่ผลิตหรือใช้สารนี้ เช่น โรงงานผลิตผ้าเบรกครัทช์ ฉนวนกันความร้อน และโรงงานทอผ้า ละอองของสารเยื่อหินสามารถล่องลอย ในอากาศ  เมื่อสูดดมเข้าไปสารจะไปตกค้างในปอด ทำอันตรายต่อเซลล์ปอด ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดตามมา ผู้ที่สูดดมสารนี้จำนวนมากมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งปอดได้มากกว่าคนปกติถึง 3-4 เท่า

     5. ควันธูป จากการศึกษา ในควันธูปมีส่วนประกอบของสารเคมีที่ทำให้เกิดมะเร็งปอด ที่สำคัญ 3 ชนิดได้แก่ เบนซิน บิทาไดอีนและเบนโซเอไพริน




เลิกบุหรี่ห่างไกลมะเร็งปอด



อาการที่ควรสงสัยว่าอาจจะเป็นมะเร็งปอด
     ระยะเริ่มแรกของโรค จะไม่มีอาการใด ๆ ที่บ่งบอกได้อย่างชัดเจนว่าเป็นโรคมะเร็งปอด แต่ควรสังเกตจากอาการเหล่านี้ เช่น

  • ไอเรื้อรัง  จะมีลักษณะไอแห้ง ๆ อยู่นานกว่าปกติบางครั้งมีเสมหะ หรือมีเลือดออกเป็นเพียงสาย ๆ ติดปนกับเสมหะออกมา
  • หายใจเหนื่อยหอบ เสียงแหบ
  • เป็นโรคปอดบวมหรือหลอดลมอักเสบบ่อย ๆ มีไข้เจ็บหน้าอก
  • อาการบวมบริเวณใบหน้าและลำคอ
  • เบื่ออาหารหรือน้ำหนักลด ซีด อ่อนเพลีย
อาการเหล่านี้อาจเป็นอาการของโรคมะเร็งปอดได้ถ้ามีอาการควรปรึกษาแพทย์


การวินิจฉัยมะเร็งปอด 
     สามารถวินิจฉัยได้หลายวิธีดังนี้
          1. เอกซเรย์ปอด หรือ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์
          2. ตรวจเสมหะ ที่ไอออกมาเพื่อหาเซลล์มะเร็ง
          3. ส่องกล้องตรวจดูภายในหลอดลม
          4. ขลิบชิ้นเนื้อจากหลอดลมหรือต่อมน้ำเหลืองบริเวณไหปลาร้า ไปตรวจเพื่อการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยา


การรักษาโรคมะเร็งปอด
     เมื่อพบว่าเป็นโรคมะเร็งปอดแน่นอนแล้ว แพทย์จะให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยว่า ควรจะมีการรักษาแบบใดบ้าง จึงจะเหมาะสมแก่ผู้ป่วย โดยพิจรณาถึงอายุ ภาวะความแข็งแรงของร่างกายระยะของโรคชนิดของชิ้นเนื้อและการยอมรับของผู้ป่วย ซึ่งสามารถรักษาได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
     1. การผ่าตัด
     2. รังษีรักษา
     3. เคมีบำบัด
     4. การรักษาร่วมกันมากกว่า 1 วิธี เช่น เคมีบำบัดร่วมกับการฉายแสง  การให้เคมีบำบัดก่อนหรือหลังการผ่าตัด การฉายแสงร่วมกับการผ่าตัด เป็นต้น
     5. การรักษาแบบประคับประคอง


การป้องกันมะเร็งปอด
     1. เลิกสูบบุหรี่ หรือหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้คนสูบบุหรี่
     2. หลีกเลี่ยงการได้รับมลพิษในสิ่งแวดล้อม
     3. รับประทานผัก ผลไม้ให้มากขึ้น รวมทั้งอาหารที่มีวิตามินซี วิตามินอี รวมทั้งเซเลเนียม เช่น ข้าวซ้อมมีือ รำข้าว ฯลฯ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอด
     4.หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง และการดื่มสุรา











วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555

ความรู้ โรคมะเร็งผิวหนัง


โรค มะเร็งผิวหนัง
โรคมะเร็งผิวหนัง

โรคมะเร็งผิวหนัง เป็นมะเร็งที่พบได้น้อย ประมาณร้อยละ 5 ของมะเร็งทั้งหมด มักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี และพบในเพศชายมากกว่า เพศ หญิง

ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งผิวหนัง

  1. แสงอัลตราไวโอเลต (UVA, UVB) พวกที่ต้องการทำงานกลางแดด เล่นกีฬากลางแจ้ง ชอบอาบแดดจะมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง
  2. เชื้อชาติ คนผิวขาว ผมสีบลอนด์ ผิวไหม้แดดง่าย มีโอกาสเสี่ยงสูง เพราะมีเม็ด สีที่ผิวหนังน้อยความสามารถในการป้องกันเซลล์ผิวหนังจากแสงแดด อัลตราไวโอเลตจึงน้อยกว่าคนผิวคล้ำ
  3. การได้รับสารเคมีก่อมะเร็ง เช่น สารหนูที่ปนอยู่ในน้ำ ยาหม้อ ยาลูกกลอน
  4. หูด ไฝ ปาน หรือแผลเรื้อรัง ที่มีการระคายเคืองเป็นเวลานาน
อาการที่บอกว่าอาจจะเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง
  1. ไฝที่เป็นอยู่เดิม มีรูปร่างเปลี่ยนไป ดังนี้ ลักษณะของไฝทั้งสองข้างไม่เหมือนกัน ขอบของไฝไม่เรียบสีของไฝที่ไม่สม่ำเสมอ ขนาดของไฝใหญ่กว่า 6 มม.
  2. มีผื่นหรือก้อนที่เกิดขึ้นใหม่ และไม่หายใน 4-6 สัปดาห์
  3. ไฝหรือปานที่โตเร็ว และรูปร่างเปลี่ยนไปจากเดิมมีอาการคัน แตกเป็นแผล และมีเลือดออก
  4. แผลเรื้อรังไม่หาย ใน4 สัปดาห์
โรคมะเร็งที่พบบ่อย
  1. มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในชั้นฐานของหนังกำพร้า ( Basal Cell Carcinoma)
    - มีลักษณะเป็นตุ่มนูนใส ขอบม้วน อาจมีสีดำหรือแตกเป็นแผล
    - พบบ่อยบริเวณถูกแดด เช่นใบหน้า
    - ใช้ระยะเวลานานในการแพร่กระจาย
  2. มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในชั้นหนังกำพร้า ( Squamous Cell Carcinoma)
    - มีสัญลักษณ์นูน แดง ผิวหนังแตกเป็นแผลเลือดออกง่าย
    - พบบ่อยบริเวณ ใบหน้า ริมฝีปาก ขอบใบหู
    - สามารถแพร่กระจายบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณได้
    - โตและขยายเป็นวงกว้างได้เร็วและลึกกว่ามะเร็งผิวหนังชนิดแรก
  3. มะเร็งที่เกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสี (Malignant Melamana)
    - มีลักษณะคล้ายไฝหรือขี้แมลงวัน หรือเป็นจุดดำบนผิวหนัง
    -ไฝบนผ่ามือ ฝ่าเท้า ใต้เล็บ มีโอกาสเป็นมากกว่าที่อื่นๆ
    - สัญญาณอันตรายของมะเร็งผิวหนังชนิดนี้ คือ การเปลี่ยนแปลงของผิว ของไฝ หรือขี้แมลงวัน เช่น มีการตกสะเก็ด ลอก หรือมีอาการปวด มีเลือดหรือน้ำเหลืองไหลเยิ้ม มีตุ่มเกิดขึ้นข้างๆ มีการแพร่กระจายของเม็ดสีไปรอบๆ
การรักษา โรคมะเร็งผิวหนัง
การตรวจพบในระยะเริ่มแรก ถือเป็นการรักษาที่ดีที่สุด การรักษามะเร็งผิวหนังมีหลายวิธี เช่น
  • การผ่าตัด
  • การจี้ไฟฟ้า
  • การรักษาด้วยเลเซอร์
  • การฉายแสงหรือการใช้ยาฆ่าเซลล์มะเร็ง
วิธีการป้องกัน โรคมะเร็งผิวหนัง
การหลีกเลี่ยงจากแสงแดดเป็นการป้องกันมะเร็งผิวหนังที่ดีที่สุด
  • หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง เช่น การรับประทานยาที่มีส่วนผสมของสารหนู
  • หมั่นสังเกตุความผิดปรกติของไฝหรือขี้แมลงวัน หากพบว่ามีผิวหนังที่ผิดปรกติให้รีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษา
  • ใช้ครีมกันแดดเป็นประจำทุกวัน 
  • สวมเสื้อที่มิดชิด สวมหมวกปีกกว้างหรือกางร่ม
  • ควรเริ่มป้องกันแสงแดดตั้งแต่วัยเด็ก
โรค มะเร็งผิวหนัง



มะเร็งป้องกันได้ หากใส่ใจ ตรวจรักษา






- ขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาล มะเร็ง ลำปาง กรมการแพทย์ กระทรางสาธารณสุข -